“กระทง ขนมปัง-กระดาษ-อาหารปลา” ย่อยสลายได้ แต่ทำไมถึงไม่ควรลอย

“ลอยกระทง 2566” กทม.จัดงานสะพานพระราม 8 – คลองโอ่งอ่าง

ลอยกระทง 2566: เปิดคำขอขมาพระแม่คงคา ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง

"พิธีจองเปรียง" คืออะไร เปิดประวัติต้นกำเนิดประเพณีลอยกระทง

“เทศกาลลอยกระทง” เวียนกลับมาอีกครั้ง โดยในปีนี้ตรงกับวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 แต่เมื่อพูดถึงวันสำคัญนี้ ต้องยอมรับว่า “กระทง” นางเอกของงานที่เราใช้บูชาพระแม่คงคากันตามความเชื่อ กลับกลายเป็นผู้ร้ายในฐานะ “ขยะมลภาวะ” อยู่ทุก ๆ ปี

โดยปริมาณขยะลอยกระทงในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี 2560-2565 พบว่า ในปี 2560แม้ว่าจะเก็บขยะลอยกระทงได้กว่า 8 แสนใบ และเริ่มลดลงมาเรื่อยๆ ในปี 2562

จนในปี 2565 เพิ่มขึ้นมาอีกครั้งเป็น 5 แสนกว่าใบ แต่ขยะลอยกระทงก็ยังเยอะถึงหลักแสนใบ และนี่เป็นเพียงแค่สถิติจากพื้นที่เดียวเท่านั้น

ด้วยปัญหาขยะลอยกระทงที่ยังมีต่อเนื่อง จนเห็นภาพปรากฎในหน้าข่าวว่าเจ้าหน้าที่ต้องออกลุยกวาด “ขยะกระทง” ท่ามกลางน้ำที่เริ่มเน่าเสีย และกระทงบางส่วนหลุดลอยออกนอกทะเล หรือจมลงสู่ใต้น้ำอีกมากมาย

จนเกิดกระแสดราม่าว่า ถ้ายังลดปริมาณขยะกระทงไม่ได้ ตอนนี้ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะตอบแทนคุณพระแม่คงคาด้วยการไม่ลอยกระทง หรือต้องรอเวลาไปจนกว่าจะมีผลกระทบต่อระบบนิเวศแหล่งน้ำและสัตว์น้ำในระยะยาว

แต่เทศกาลลอยกระทง ถือเป็นการสืบสานประเพณีไทยด้วย เสียงกระแสสังคมจึงแตกบางส่วนบอกให้ยกเลิกเลย ขณะที่อีกส่วนบอกว่ายังสามารถทำได้ แต่ต้องเพิ่มเติมการดูแลเอาใจใส่สิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น

ดังนั้นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยได้ คือ การหันมาใช้กระทงที่สามารถย่อยสลายได้ แต่กระทงบางชนิดกลับเป็นข้อยกเว้น มาเช็กกันเลยว่ากระทงแบบไหนไม่ควรลอยบ้าง มาดูกัน!

กระทงโฟม

เดิมกระทงจะทำมาจากวัสดุจากธรรมชาติ ก่อนที่ยุคสมัยจะผันแปรและเริ่มมีกระทงที่ประดิษฐ์จากโฟมออกมา แม้จะลอยน้ำได้ดี แต่โฟมเป็นวัสดุที่ย่อยสลายยาก ใช้เวลามากถึง 500-1,000 ปีเลยทีเดียว อีกทั้งพลาสติกและโฟมบางชิ้นไม่เหมาะในการนำไปรีไซเคิล หากเล็ดลอดลงสู่แม่น้ำและทะเลแล้วก็จะใช้เวลาหลายร้อยปีในการย่อยสลาย

กระทงขนมปัง/กรวยไอศกรีม/อาหารปลา

กระทงเหล่านี้เป็นแป้ง เป็นคาร์โบไฮเดรต เมื่อลงน้ำ ซึ่งมีเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อจุลินทรีย์จะย่อยแป้ง แต่กระบวนการทำงานของการย่อยสลายนี้นั้นจะต้องใช้ออกซิเจนช่วย ดังนั้นออกซิเจนในน้ำจะลดลง แม้ปลาจะกินได้ แต่หากปลากินไม่หมด ไม่ได้รับออกซิเจนที่เพียงพอ ก็จะตายง่ายด้วยเช่นกัน

กระทงกระดาษ

ดูเหมือนจะดีต่อสิ่งแวดล้อม เพราะย่อยสลายได้ แต่กระดาษกลับใช้เวลาย่อยสลายนานอย่างไม่น่าเชื่อ ประมาณ 2-5 เดือนเลยทีเดียว ประกอบกับกระดาษสมัยใหม่ มีคุณลักษณะที่แตกต่างกันออกไปจากอดีต บางร้านพ่นสี บางร้านเป็นกระดาษที่มีการปนเปื้อนของสารเคมี หรือบางร้านอาจจะบริสุทธิ์จริง ๆ แต่เราคงไม่มีเวลานั่งตรวจสอบขนาดนั้น

อีกทั้งเวลากระดาษจมน้ำ นอกจากจะลอยได้ไม่ดีแล้ว ยังยุ่งยากในการจัดเก็บ เท่ากับเป็นการสูญเสียทรัพยากรไป และควรนำไปรีไซเคิลที่เกิดประโยชน์มากกว่า

จะเห็นได้ว่ากระทงบางชนิดแม้จะย่อยสลายได้ แต่ใช้ระยะเวลานาน ขณะที่เราลอยทุกปี แบบนี้แทบไม้ต้องพูดถึงเลยว่าขยะจะสะสมมากขนาดไหน ส่วนบางชนิดแม้ปลาจะกินได้ แต่หากปลากินไม่หมด อาจส่งผลย้อนกลับ ทำให้แหล่งน้ำขาดออกซิเจนและปลาตายได้เช่นกัน ดังนั้นอาจดีมากกว่าหากหลีกเลี่ยงกระทงเหล่านี้ไปเลย จะเป็นการแก้ปัญหาที่ครบจบกว่าการซื้อไปแล้วต้องเลือกลอยในแหล่งน้ำที่เหมาะสม ซึ่งเดาไม่ได้ว่าสัตว์น้ำจะกินหมดไหม

ขอบคุณข้อมูลจาก : ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) และเฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฏ์คำพูดจาก ปั่นสล็อตแตกทุกเกม

รู้วันโอนเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท พร้อมวิธีเช็กเข้าบัญชี

กางปฏิทินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ บำนาญ ปี 2566

วันหยุดเดือนธันวาคม 2566 เช็กเลยมีวันหยุดราชการ-หยุดยาววันไหนบ้าง

 “กระทง ขนมปัง-กระดาษ-อาหารปลา” ย่อยสลายได้ แต่ทำไมถึงไม่ควรลอย

By admin

Related Post